
ความเป็นมาของยีนส์.. ยีนส์ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกที่เมืองเจโนวา เมืองท่าของประเทศอิตาลี โดยจุดประสงค์เพื่อกะลาสีชาวเจนัว ไว้ใส่เพื่อรองรับต่อสภาพแห้งหรือเปียกได้ดี และสามารถถกขากางเกงได้ขณะอยู่บนดาดฟ้าเรือ ผ้ายีนส์ที่ทำขึ้นมาในนครเจโนอา กลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งทางประเทศอังกฤษสั่งนำเข้าผ้าชนิดนี้ ด้วยความทึ่งในความทนทาน และเรียกผ้านี้รวมๆว่า Fustian ซึ่งแปลว่าผ้าสีเนื้อหยาบ ต่อมาระหว่างที่เรือขนส่งสินค้าเดินทางจากอิตาลีมาอังกฤษ ต้องผ่านประเทศฝรั่งเศส ซึ่งคนเมืองเรียกเมืองเจนัวว่า แชน (Gênes) และเรียกสินค้าจากเจนัวว่า ชีน (Jene) ซึ่งภายหลังเปลี่ยนมาเป็น ชอง (Jean) พอมาถึงอังกฤษ ชาวอังกฤษจะอ่านคำว่า Jean ว่า จีน หรือยีน เช่นเดียวกับคนอเมริกันที่พูดภาษาอังกฤษ ซึ่งเมื่อคนนำผ้ายีนส์นี้ไปตัดกางเกง ก็ต้องเป็นคำที่เติม s จึงเรียกว่า Jeans ยีนส์ ส่วนคำว่า เดนิม มาจาก serge de Nimes นั้นหมายถึง ผ้าทอขนสัตว์หรือผ้าไหม (serge) จากเมืองนีม (de Nimes) ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส แต่ความหมายในปัจจุบันนั้นเฉพาะเจาะจงไปที่ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้ายีนส์ เกิดจากผ้าฝ้ายทอทแยง (Twill) และย้อมสีอินดิโก้ (สีครามหรือสียีนส์นั่นเอง)
ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%8C


CHAIN STITCHES (เชน สติช)
คือการเย็บตะเข็บ หรือปลายขาแบบลูกโซ่(เชน สติช) เป็นการเย็บแบบโบราณ โดยอาศัยหลักการในการเย็บกระสอบในอดีตมาเย็บเป็นกางเกงยีนส์ และทำให้เกิด Roping Effect (การบิดตัวของด้ายที่ปลายขา)ทำให้ได้รอยเฟดที่สวยงาม และมีความแข็งแรง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของกางเกงยีนส์สไตล์วินเทจ ทำให้คอยีนส์ตัวจริงมักจะเลือกการเย็บปลายขาแบบลูกโซ่ และการเย็บแบบนี้ถือเป็นการเย็บแบบโบราณ ต้องใช้เครื่องจักรที่เย็บลักษณะนี้โดยเฉพาะ

WATCH POCKET (วอช พอคคึท)
กระเป๋าลับ (ตามภาษาช่าง) หรือกระเป๋าใส่นาฬิกาพกพา เป็นกระเป๋าช่องเล็กๆ ที่ดูเหมือนจะใส่อะไรไม่ได้เลย กลับมีที่มาที่ไป ที่แสดงถึงการผลิตสินค้าตามการใช้งานจริงๆ ของผู้ใช้งานมาตั้งแต่ช่วงปี 1800 สมัยนั้น กางเกงยีนส์เป็นที่นิยมในหมู่คาวบอย และคนงานในเหมืองแร่ และตอนนั้นยังไม่มีนาฬิกาข้อมือ มีเพียงนาฬิกาพกพา หรือนาฬิการูปทรงกลม ที่มีห่วงโซ่คล้องเอาไว้ เจ้ากระเป๋าลับนี้ จึงมีไว้เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้สวมใส่ เพื่อไว้สำหรับการใส่ POCKET WATCH โดยเฉพาะขึ้นมา

RIVET (รีเวท)
หมุดตอกยึด บางคนอาจจะคิดว่าติดไว้เพียงแค่เพื่อความสวยงาม แต่จริงๆแล้ว เจ้าหมุดเล็กๆตัวนี้มีประโยชน์มากกว่าที่เราคิดเยอะเลยค่ะ เนื่องจากว่าตำแหน่งที่เราตอกรีเวทไปนั้นเป็นส่วนพับเข้ามุมของผ้ายีนส์ที่ค่อนข้างหนา เจ้ารีเวทตัวนี้จึงมีหน้าที่ยึด เพื่อป้องกันยีนส์จากการสึกหรอ และฉีกขาดของตะเข็บนั่นเอง

Honeycomb (ฮันนี่คอมบ์)
คือรอยเฟดจากการใส่กางเกงผ้าดิบบริเวณด้านหลังของหัวเข่า ที่มีลักษณะเหมือนรังผึ้งแบบ 3 มิติ ซึ่งรอยเฟดของกางเกงแต่ละตัว จะไม่เหมือนกัน เพราะรอยเฟดนั้น จะเกิดขึ้นตามพฤติกรรมการสวมใส่ หรือกิจกรรมที่ผู้ใส่แต่ละท่านทำ อันเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวที่ลอกเลียนแบบกันไม่ได้

STONE WASH (สโตน วอช)
ขั้นตอนกรรมวิธีของเทคนิคที่จะช่วยให้เนื้อผ้ายีนส์มีหน้าตาแตกต่างจากยีนส์ฟอกในยุคก่อนๆ คือ การนำยีนส์ไปปั่นรวมกับหิน Pumice จึงเรียกวิธีการฟอกแบบนี้ว่า Stone Wash หิน Pumice เกิดจากเย็นตัวของลาวาภูเขาไฟ อุดมไปด้วยสารซิลิกา มีน้ำหนักเบา รูพรุน และสามารถลอยน้ำได้ ทำให้ผิวสัมผัสอันหยาบและขุรขระของหินขัดถูไปกับเนื้อผ้าในเครื่องปั่นขนาดใหญ่ วิธีนี้นอกจากจะทำให้ยีนส์มีสภาพเนื้อผ้าและสีที่เปลี่ยนไปจากเดิมราวกับเหมือนเกิดจากร่องรอยของประสบการณ์จริง ยังทำให้เนื้อผ้านุ่มและยืดหยุ่นมากขึ้น ด้วยเทคนิคดังกล่าวจะใช้เพียงน้ำในการชะล้างคราบหินบนกางเกงและก้อนหินในการสร้างลวดลาย ซึ่งต้องใช้เวลานานพอที่ทำให้เกิดเฟดทั่วบนกางเกง หรือในบางอุตสาหกรรมจะใช้น้ำยาทำให้ผ้านุ่มในตอนท้ายเพื่อที่แน่ใจว่าเนื้อผ้านุ่มยิ่งขึ้น เนื่องจากตัวหินนี้เองที่จะไปขัดผิวเนื้อผ้าเพื่อให้ได้รูปทรง ลวดลายและสีอย่างที่ต้องการ รวมถึงความนุ่มของผ้าด้วย ขนาดและน้ำหนักของหินจึงเป็นเรื่องสำคัญในการกรรมวิธีนี้การเลือกขนาดใหญ่ กลาง หรือเล็ก อยู่ที่น้ำหนักของผ้าที่ผู้ผลิตต้องการจะผลิต ถ้าผ้าที่มีน้ำหนักมากก็ต้องใช้หินก้อนใหญ่ เป็นต้น
ที่มา: https://www.wministry.com/th/how-stone-washed-denim-originated/

COMFORT STRETCH (คอมฟอร์ท สเตรช)
คือกางเกงยีนส์ผ้าผสมที่เพิ่มผ้ายืด หรือเส้นใย Lycra เข้าไปเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นสูง ซึ่งยีนส์ผ้ายืดอาจจะมาในรูปแบบ “ผ้าดิบ” หรือ “ผ้าฟอก” ก็ได้
ข้อดีของผ้ายืด คือทำให้เราสวมใส่กางเกงได้สบาย ไม่อึดอัด และลดไซส์ได้เยอะขึ้น มักใช้ในยีนส์ทรงแคบ รัดรูป เช่น Skinny

PATCHWORK (แพชเวิร์ค)
คือการนำผ้าหลายๆชนิด หลากหลายลวดลาย มาปะติดปะต่อกัน เพื่อให้เกิดชิ้นงานใหม่ที่สวยงาม เทคนิคที่นำมาใช้กับเสื้อผ้าส่วนใหญ่จะเรียกกว่า cutting paper and fabric patch (คือการตัดผ้าตามแบบและนำมาเย็บติดกับเสื้อผ้า) ซึ่งสเน่ห์ของงาน Patchwork คือการพิถีพิถันในคัดสรร และการ Matching ผ้าชนิดต่างๆ เพื่อให้เสื้อผ้า หรือกางเกงนั้นๆ เกิดความสวยงาม มีเอกลักษณ์และลงตัวที่สุด